พิพิธภัณฑ์ไทย ไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด!! EP.2

วันที่ : 2024.09.12

 

พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม และความรู้อื่นๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้แก่เด็กๆ และประชาชนทั่วไป

ประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยสนใจที่จะเข้าพิพิธภัณฑ์สักเท่าไหร่ เพราะพิพิธภัณฑ์ไทย ไม่ค่อยมีอะไรดึงดูด จะเน้นการอ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน มากกว่ากิจกรรม ทำให้อาจจะดูน่าเบื่อ

แต่ปัจจุบัน คำว่า "พิพิธภั้ณฑ์" ไม่จำเป็นที่จะต้องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สักทีเดียว บางที่ก็จะเกี่่ยวกับของเล่น หรือ พิพิธภัณฑ์+คาเฟ่ ทำให้การเที่ยวพิพิธภัณฑ์น่าสนใจมากขึ้น

 

🏢 พิพิธตลาดน้อย Talad Noi Museum: กรุงเทพฯ 🏢

เวลา: อังคาร-ศุกร์ 08.30-16.30 น. และ เสาร์-อาทิตย์ 10.00-18.00 น. (ปิดวันจันทร์)
ค่าเข้าชม: ฟรี!!
FB: www.facebook.com/pipittaladnoi/ 
Review: www.facebook.com/share/p/PuVN6H4zc2jtUgwp/ 

พิพิธตลาดน้อย (Talad Noi Museum) เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้อย ซึ่งจากเดิมเป็นโรงกลึงเก่า และทางกรมธนารักษ์ นำมาดัดแปลงมาเป็นพิพิธภัณฑ์

 

🏢 พิพิธภัณฑ์ของเล่น ตูนนี่ ประเทศไทย: นนทบุรี 🏢

เวลา: เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ 09.30-18.00 น.
FB: www.facebook.com/TooneyMuseum 

 

🏢 พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ : นนทบุรี🏢

เวลา: เปิด 08.30-16.30 น. (ปิดวันจันทร์)
ค่าเข้าชม: ฟรี!!
FB: www.facebook.com/profile.php?id=100092854548783 
Review: www.facebook.com/share/p/pM2Q8Uh5CT34pjmF/ 

ตัวพิพิธภัณฑ์ มีทั้งหมด 3 อาคาร ได้แก่ อาคาร 1 -แสดงความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์, อาคาร 2 (ชั้น1) - แสดงเกี่ยวกับประวัติการลงทัณฑ์ของไทยตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน และครื่องมือการลงทัณฑ์ ส่วนชั้น 2 แสดงถึงเรื่องราวการคุก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อาคารสุดท้ายก็จะเป็นหับเผย จำหน่ายผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ โดยฝีมือผู้ต้องขัง

 

🏢 พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี : นนทบุรี 🏢

เบอร์: 084-775-2262
เวลา: เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 09.00-17.00 น. ส่วนเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ 10.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม: ฟรี!!

พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี อยู่ที่ท่าน้ำนนท์ ใช้ศาลากลางเก่าของนนทบุรีมาทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งตัวอาคารก็เก่าแก่ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 2453 และพิพิธภัณฑ์มี 2 ชั้น คือ ชั้น 1 จัดแสดงประวัติความเป็นมาของจ.นนทบุรี ส่วนชั้น 2 จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผานนทบุรี

 

🏢 บ้านจงรัก : อุทัยธานี🏢

เวลา: เปิด ตั้งแต่ 08.00-17.00 น. (ปิดวันพุธ-พฤหัส)
FB: www.facebook.com/banjongrakuthai/ 
Web: www.baanjongrak.weebly.com 

ชั้น 2 ของบ้านจงรัก ก็จะเป็นพิพิธภัณฑ์บ้านคุณตาหลวงเพชรสงคราม ซึ่งรวบรวมโดยคุณจงรัก ซึ่งรวบรวมเครื่องใช้ที่มีค่าของคุณตาทวด (หลวงเพชรสงคราม) ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 มาจัดแสดงให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป

 

🏢 พิพิธภัณฑ์โรงยาฝิ่น ตรอกโรงยา : อุทัยธานี🏢

เวลา: เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ 16.30-20.00 น.
Review: www.facebook.com/share/p/MKpPPThVTztQNVku/ 

"โรงยาฝิ่น" อยู่บนถนนที่เปิดถนนคนเดินตรอกโรงยา ซึ่งภายในก็จะจำลองการสูบฝิ่นสมัยโบราณ ซึ่งข้างในก็จะมีน้องๆมัธยม คอยอธิบายแต่ละจุดให้เราฟัง เพื่อความเข้าใจได้ง่าย

 

🏢 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา: สงขลา🏢

เวลา: เวลา 09.00 - 16.00 น. (ปิดทุกวันจันทร์-อังคาร)
ค่าเข้า: ฟรี!
FB: www.facebook.com/songkhlanationalmuseum 

ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์สวยมาก ๆ เป็นคฤหาสน์เก่าของพระยาสุนทรานุรักษ์ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลาตั้งแต่สมัยร้อยกว่าปีก่อน จน พ.ศ. 2516 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน คฤหาสน์หลังนี้เป็นโบราณสถานแห่งชาติและเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2525

 

🏢 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพิมาย : นครราชสีมา🏢

เวลา: เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 09.00-16.00 น.
ค่าเข้า: ราคา 20 บาท/คน และชาวต่างชาติ 100 บาท/คน
Review: www.facebook.com/share/p/DZSRucv4pKp2nG2x/ 

ด้านหน้าของอุทยานฯ ก็จะมีพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับปราสาทสด๊กก๊กธมให้ศึกษา การจัดแสดงดีและสวยมาก แต่ก็ยังเน้นในการอ่านมากกว่า

 

🏢 ปราสาทสด๊กก๊อกธม : สระแก้ว🏢

เวลา: เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08.30-16.30 น.
ค่าเข้า: ไม่เสียค่าเข้า

ด้านหน้าของอุทยานฯ ก็จะมีพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับปราสาทสด๊กก๊กธมให้ศึกษา การจัดแสดงดีและสวยมาก แต่ก็ยังเน้นในการอ่านมากกว่า

 

🏢 พิพิธภัณฑ์ชาวกูย (Kuy Museum) : ศรีสะเกษ🏢

ค่าใช้จ่าย: ไม่เสียค่าเข้า
FB: https://www.facebook.com/profile.php?id=100085595675282 

พิพิธภัณฑ์ชาวกูย (Kuy Museum) ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำ (สระกู่) ศูนย์วัฒนธรรมปรางค์กู่ เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อสงวนรักษา วัตถุทางวัฒนธรรมและมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนชาวกูย (Kuy Community) เก็บรวบรวมวัตถุสิ่งของในท้องถิ่น สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ ศิลปหัตถกรรม

⭐️ ก่อนหน้านี้เราเคยพาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์กันมาแล้ว ตามรายละเอียดนี้ ⭐️
https://www.facebook.com/share/p/Rfg5tJg21g4Hdc9N/